กิจกรรมสาธารณประโยชน์

 จิตสาธารณะ 
      การปลูกฝังจิตใจให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากภายใน "จิตสาธารณะ" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ มีความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม
    
ความหมายของจิตสาธารณะ

                

จิตสารธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า สาธารณะคือ สิ่งที่มิได้
เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่
ที่จะดูแลและบำรุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้ง ขยะลงในแหล่งน้ำ
การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การ
ประหยัดน้ำประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความ
ช่วยเหลือผู้ทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อให้เกิดปัญหา
หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนร่วม
 จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม
      จิตสำนึกเพื่อสวนรวมนั้นสามารถกระทำได้ โดยมีแนวทางเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
      1. โดยการกระทำตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหาย
ต่อส่วนรวม
      2. มีบทบาทต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็น
ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม


ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ
และเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม


มีบทบาทต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม 

ความสำคัญของจิตสาธารณะ 
  
         ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538: 77) กล่าวถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมว่าเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝังและส่งเสริมจริยธรรม และวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่งเพราะเด็กยังเป็น ไม้อ่อนที่ดัดง่ายฉะนั้น การปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการทางร่างกาย และโดยเฉพาะเหมาะสมกับพัฒนาการทางจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ได้มากการที่คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากัน คนในสังคมซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปถ้าคนในสังคมขาดจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งนอกจากจะมีผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว องค์กรแล้ว การขาดจิตสำนึกสาธารณะยังมีผลกระทบต่อชุมชนระดับประเทศ

ความรับผิดชอบต่อตนเอง


การทำจิตอาสา ณ ศูนย์เด็กเล็กดารุลญัณนะห์
         
จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง นับว่าเป็นพื้นฐานต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตัวอย่างความ
รับผิดชอบ ต่อตนเองดังนี้
        1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้
        2. รู้จักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้แข็งแรงสมบรูณ์
        3. มีความประหยัดรู้จักความพอดี
        4. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย
        5. ทำงานที่รับมอบหมายให้สำเร็จ
        6. มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

ความรับผิดชอบต่อสังคม


การสร้างจิตสาธารณะเพื่อช่วยเหลือสังคม ณ วนอุทยานน้ำตกธารโต

ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความ เสียหายเช่น
       1. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ
       2. มีความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์
ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของโรงเรียน ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน
       3. มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นเช่นให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำไม่เอาเปรียบเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
       4. มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษา
สมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี ให้ความช่วยเหลือ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมความสะอาด